กำหนดการ

รายละเอียด วันเวลา
รับสมัครออนไลน์ ** ขยายเวลา**
รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ วันที่  วันนี้ - 22 มิถุนายน 2561
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันที่ 27 มิถุนายน 2561
สอบสัมภาษณ์ วันที่ 2 กรกฎาคม 2561
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา วันที่ 13 กรกฎาคม 2561

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Master of Science in Information Technology)

รหัสและชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย): หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ภาษาอังกฤษ): Master of Science Program in Information Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Information Technology)

ปรัชญา Philosophy: มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และความชํานาญ ในการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิจัยเชิงบูรณาการ และถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ Goals:

1) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถอย่างถ่องแท้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีเครือข่าย และสื่อ ดิจิทัล ซึ่งสามารถนําไปประยุกต์กับการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า

2) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาวิทยาการใหม่ ๆ อันจะนํามาซึ่งประโยชน์ของตนและสังคม

3) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า สามารถตอบสนองนโยบายในการ พัฒนาประเทศ มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งธํารงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาแผน ก แบบ ก 2

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี (ที่เรียนวิชาเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี และมีผลงานทางวิชาการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เกี่ยวข้อง ที่เคยได้รับการตีพิมพ์ (บทความวิจัยเสนอในที่ประชุมวิชาการ หรือ บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร) อย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานวิจัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังการสำเร็จการศึกษา โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน หรือ
  4. หากนอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น ให้ขึ้นกับดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
 

คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556

 

  

หลักฐานประกอบการรับสมัครเฉพาะสาขา

  1. ใบสมัครเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. สำเนาใบประมวลผลการศึกษา (Transcript)
  3. สำเนาปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา
  4. หนังสือรับรองการศึกษาและคุณสมบัติประจำตัว (Recommendation) จากอาจารย์ผู้เคยสอน จำนวน 2 ท่าน
  5. สำเนาผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ สำหรับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 2
  6. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำหรับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 3
  7. คะแนนสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ TOEFL, IELTS, TOEIC, CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP
  8. Statement of Purpose (ภาษาไทย หรือ อังกฤษ มีความยาว 1 ถึง 2 หน้ากระดาษ A4)
 

 

การสมัคร

    1. สามารถสมัครออนไลน์ ด้วยตนเองได้ที่
http://www.grad.psu.ac.th/admission

สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องทุนผู้ช่วยวิจัยและอื่น ๆ ได้ที่  grad.ict@phuket.psu.ac.th 
หรือสอบถามที่ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ โทร. 0-7627-6120 โทรสาร. 0-7627-6453

Fanpage: MSIT Program, PSU Phuket, Thailand
โครงสร้างหลักสูตร (แผน ก 2)
  • หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือก 6  หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

 

รวม              36  หน่วยกิต   หมวดวิชาบังคับ     แผน 2

 

976-501 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการManagement Information System 3(3-0-6)
976-502 ระเบียบวิธีวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศResearch Methodology in Information Technology 3(3-0-6)
976-503 สถิติทางเทคโนโลยีสารสนเทศStatistics for Information Technology 3(3-0-6)
976-504 การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศInformation Technology Project Management 3(3-0-6)
976-505 สัมมนา 1*Seminar I 1(0-2-1)
976-506 สัมมนา 2*Seminar II 1(0-2-1)
976-607 สัมมนา 3*Seminar III 1(0-2-1)
976-608 สัมมนา 4*Seminar IV 1(0-2-1)

*เป็นรายวิชาบังคับให้นักศึกษาทุกคนลงทะเบียนทุกภาคการศึกษา โดยไม่นับหน่วยกิต   หมวดวิชาเลือก              

    

  1. กลุ่มวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology
 
976-511 การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ และข้อมูลขนาดใหญ่Cloud Computing and Big Data 3(3-0-6)
976-512 การทำเหมืองข้อมูลData Mining 3(3-0-6)
976-513 ระบบการจัดการฐานข้อมูลขั้นสูงAdvanced Database Management System 3(3-0-6)
976-514 การคิดทางสถาปัตยกรรมArchitectural Thinking 3(3-0-6)
976-515 ความมั่นคงของสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์Information and Computer Network Security 3(3-0-6)
976-516 เทคโนโลยีเว็บขั้นสูงAdvanced Web Technologies 3(3-0-6)
976-517 การประมวลภาษาธรรมชาติNatural Language Processing 3(3-0-6)
976-518 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจInformation Technology for Business 3(3-0-6)
 
  1. กลุ่มวิชาทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Software Engineering
 
976-521 วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ขั้นสูงAdvanced Empirical Software Engineering 3(3-0-6)
976-522 การทวนสอบและการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของซอฟต์แวร์Software Verification and Validation 3(3-0-6)
976-523 การบำรุงรักษาและวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์Software Maintenance and Evolution 3(3-0-6)
976-524 การปรับปรุงกระบวนการระบบสารสนเทศInformation System Process Improvement 3(3-0-6)
976-525 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์Human-Computer Interaction 3(3-0-6)
 
  1. กลุ่มวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ Computer Graphics
 
976-531 การประมวลผลสัญญาณภาพImage Processing 3(3-0-6)
976-532 เทคโนโลยีเสมือนจริงVirtual Reality Technology 3(3-0-6)
 
  1. กลุ่มวิชาทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Computer Networking
 
 976-541 การคำนวณแบบทุกหนทุกแห่งPervasive Computing 3(3-0-6)
976-542 เครือข่ายแบบไร้สายและเคลื่อนที่Mobile and Wireless Network 3(3-0-6)
976-543 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นสูงAdvanced Data Communication and Computer Networking 3(3-0-6)
 
  1. กลุ่มวิชาทางด้านธุรกิจและบริหาร Business and Management
 
976-551 ธุรกิจอัจฉริยะBusiness Intelligence 3(3-0-6)
 
  1. กลุ่มอื่น ๆ
 
976-561 หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1Special Topics in Information Technology I 3(3-0-6)
976-562 หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2Special Topics in Information Technology II 3(3-0-6)
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เช่น
  • กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile
  • สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Architecture and Design)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ (Empirical Software Engineering)
  • การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
  • การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance)
  • วิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Engineering)
  • การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองและข้อกำหนดทางซอฟต์แวร์แบบฟอร์มอล (Formal Modeling and Specification)
  • การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation)
  • การทดสอบจากแบบจําลอง (Model-based Testing)

 

สื่อดิจิทัล (Digital Media) เช่น
  • Serious Games
  • Interactive Media
  • Physics-based Animation
  • Human-Computer Interaction
  • Mobile Application
  • Architectural Visualization
  • Augmented and Virtual Reality

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น
  • คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การแทนความรู้ (Knowledge Representation)
  • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
  • วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
  • เหมืองข้อความ (Text Mining)

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) เช่น
  • เครือข่ายเฉพาะกิจแบบไม่มีโครงสร้าง (Mobile Ad-hoc Networks)
  • เครือข่ายไร้สายเซ็นเซอร์ (Wireless Sensor Networks)
  • เครือข่ายเคลื่อนที่ (Network Mobility)
  • เครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ (Integration of Mobile Ad-hoc Networks and Network Mobility)
  • เครือข่ายยานพาหนะ (Vehicular Networking)
  • เครือข่ายเสมือน (Virtual Networks)
  • เครือข่ายของทุกสิ่ง (Internet of Things)

 

ระบบฐานข้อมูล (Database Systems) เช่น
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  • คลังข้อมูล (Data Warehouse)
  • ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
  • ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

 

การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing)
  • สถาปัตยกรรมการคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Architecture)
  • การจัดการการจราจรสำหรับการคำนวณแบบคลาวด์ (Traffic Management for Cloud Computing)
  • ประยุกต์ใช้การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Applications)
  • การคำนวณแบบคลาวด์ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Cloud Computing)

 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เช่น
  • การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  • การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval)
  • การสกัดสารสนเทศ (Information Extraction)

คณาจารย์

aj_rattana ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา เวทย์ประสิทธิ์
Ph.D. (Computer Science), Griffith University, Australia พบ.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วท.บ. (วิทยาศาสตร์ทางทะเล), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Research Interests : Software Engineering, Software Process Improvement, Software Quality
Email : rattana.w(at)phuket.psu.ac.th
IMG_9475 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์
Ph.D. (Computer Science), University of Alabama, U.S.A. วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.เกษตรศาสตร์ วศ.บ. (อุตสาหการ), ม.ธรรมศาสตร์
Research Interests : Software Engineering, Empirical Software Engineering, Software Quality, Agile
Email : aziz.n(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.วรวิกา วัฒนสุนทร
Ph.D. (Technology), University of Girona, Spain วท.ม. (การจัดการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์), ม.อัสสัมชัญ วท.บ. (จุลชีววิทยา), ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Research Interests : Serious games, Simulation, Augmented/Virtual reality, UI/UX
Email : voravika.w(at)phuket.psu.ac.th
IMG_9384 ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.ธรรมศาสตร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Information Extraction, Text Mining, Human Language Technology, Applied Informatics
Email : nattapong.t(at)phuket.psu.ac.th
aj_jirawat ดร.จิรวัฒน์ แท่นทอง
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.ธรรมศาสตร์ วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Ac Hoc Networks, Cloud Computing
Email : jirawat.t(at)phuket.psu.ac.th
aj_kwan ดร.กาญจนา ทองกลิ่น
Ph.D. (Natural Language Processing), Université de Besançon, France วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Natural Language Processing, Data Mining, Artificial Intelligence, Controlled Language
Email : kanjana.t(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.ขวัญกมล ดิฐกัญจน์
Ph.D. (Computer Science), University of Liverpool, United Kingdom วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Data Mining, Image Mining and Image Analysis
Email : kwankamon.d(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.อดิศักดิ์ อินทนา
Ph.D. (Computer Science), University of Southampton, United Kingdom วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Software Engineer, Formal Engineering, Software Verification and Validation, Software Testing
Email : adisak.i(at)phuket.psu.ac.th
no_image อ.เอสเธอร์ เสงี่ยมกุล
(Study leave - Ph.D. Business Information System, University of Twente, Netherlands)
Email : esther.j(at)phuket.psu.ac.th

Feedback Form

Q: ขอทราบหลักสูตรคร่าวๆ ได้หรือป่าวคะ ว่าเรียนอะไรกันบ้าง

A: หลักสูตรนี้ชื่อว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 36 หน่วยกิต (แผน ก 2) โดยมีวิชาที่ต้องเรียนรวม 18 หน่วยกิต (6 วิชา) และทำวิทยานิพนธ์อีก 18 หน่วยกิต โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และความชำนาญ ในการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยเชิงบูรณาการ

 

Q: หลักสูตรนี้มีกี่สาขาคะ

A: หลักสูตรนี้ไม่มีสาขาย่อยให้เลือก แต่จะมีกลุ่มหัวข้องานวิจัยที่หลากหลาย เช่น สื่อดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล การจัดการความรู้

 

Q: เรียนวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันธรรมดาคะ

A: หลักสูตรในปี พ.ศ. 2558 จะมีการเรียนการสอน วันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการค่ะ

 

Q: การสอบเข้ามีการคัดเลือกอย่างไรคะ

A: การสอบคัดเลือกจะมีเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร

 

Q: เป็นหลักสูตรนานาชาติ (International Program) หรือป่าวคะ

A: ไม่ใช่หลักสูตรนานาชาติค่ะ แต่เนื้อหาการเรียนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

 

Q: หลักสูตรมีทุนการศึกษาให้หรือไม่ และต้องขดใช้ทุนหรือป่าวคะ

A: ทางหลักสูตรมีทุนการศึกษาให้ โดยจะครอบคลุม ค่าลงทะเบียนตลอด 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นอกจากนี้อาจจะยังได้รับทุนเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้ได้รับทุนจะไม่มีเงื่อนไขผูกมัดและชดใช้ทุนหลังจบการศึกษา

 

Q: คะแนนภาษาอังกฤษ (TOEFL, IELTS, TOEIC, CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP) มีผลต่อการคัดเลือกหรือไม่?

A: ถ้าหากมีผู้สมัครจำนวนมาก คะแนนเหล่านี้อาจจะมีผลต่อการคัดเลือกของคณะกรรมการ

 

Q: สมัครเรียนได้ที่ไหนคะ

A: สมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/admission/