กำหนดการ
รายละเอียด | วันเวลา |
---|---|
รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต | ตลอดทั้งปี |
สอบสัมภาษณ์ | ภายใน 1 เดือนหลังจากส่งใบสมัคร |
ประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ | ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการสอบสัมภาษณ์ |
ลงทะเบียนเรียน | ภาคการศึกษาที่ 1 : 1 พฤศจิกายน 2566 - 15 กรกฏาคม 2567 ภาคการศึกษาที่ 2 : 1 สิงหาคม 2567 - 15 ตุลาคม 2567 |
ทุนการศึกษาปริญญาโทสำหรับนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ
( สำหรับนักศึกษารหัส 67 เป็นต้นไป )
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์
รหัสและชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์
(ภาษาอังกฤษ): Master of Science Program in Computing
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
- ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การคอมพิวเตอร์)
- ชื่อย่อ : วท.ม. (การคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ
- ชื่อเต็ม : Master of Science (Computing)
- ชื่อย่อ : M.Sc. (Computing)
ปรัชญา Philosophy:
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ มุ่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมด้วยทักษะที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ และ การเป็นผู้ประกอบการ ในระดับภูมิภาคอาเซียน อีกทั้ง หลักสูตรยังมุ่งสร้างผู้สำเร็จการศึกษาที่มีนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตแม้หลังจากการสำเร็จการศึกษาจากภายในมหาวิทยาลัย ดังนั้น ทางหลักสูตรจึงมีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) โดยยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
วัตถุประสงค์ Goals:
- เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถอย่างถ่องแท้ ทางด้านการคอมพิวเตอร์ เน้นเทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Science and Artificial Intelligence) วิศวกรรมซอฟต์แวร์และสื่อ (Software Engineering and Media) ระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและความมั่นคงทางไซเบอร์ (Computer Systems, Communication and Cyber-security) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า
- เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิทยาการใหม่ ๆ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของตนและสังคม
- เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า สามารถตอบสนองนโยบายในการพัฒนาประเทศ มีคุณธรรมจริยธรรม
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ
ตัวอย่างอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
- วิศวกรด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งและสมองกลฝังตัว (Internet of Things and Embedded System Engineer)
- นักวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)
- ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (Information Systems Manager)
- นักวางแผนและกำกับนโยบายระบบสารสนเทศ (Information System Plan and Policy Officer)
- ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย (Computer Graphics and Multimedia Designer)
- ผู้ดูแลหรือวิศวกรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Administrator or Engineer)
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
- วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงไซเบอร์ (Cyber Security Practitioner)
- อาจารย์หรือนักวิจัยด้านการคอมพิวเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย (University Professor or Researcher in Computing)
- คุณสมบัติของผู้สมัคร
- โครงสร้างหลักสูตร
- หัวข้องานวิจัย
- อาจารย์ที่ปรึกษา
- คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้สมัคร
แผน 1 แบบวิชาการ (ก 1) และ (ก 2)
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือ มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือ มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับรางวัลระดับชาติ หรือ มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ ได้รับการรับรองจากว่าที่อาจารย์ที่ปรึกษาหลักว่ามีความสามารถในการดำเนินงานวิจัยในระดับที่เพียงพอต่อเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาได้
- หากนอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556
หลักฐานประกอบการรับสมัครเฉพาะสาขา
- ใบสมัครเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สำเนาใบประมวลผลการศึกษา (Transcript)
- สำเนาปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา
- สำเนาผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับรางวัลระดับชาติ สำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย
- หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี
- Statement of Purpose (ภาษาไทย หรือ อังกฤษ มีความยาว 1 ถึง 2 หน้ากระดาษ A4)
- คะแนนสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ TOEFL, IELTS, CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP สำหรับผู้สมัครที่จะขอทุนการศึกษาเท่านั้น
การสมัคร
สามารถสมัครออนไลน์ ด้วยตนเองได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/admission
สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องทุนผู้ช่วยวิจัยและอื่น ๆ ได้ที่ grad.coc@phuket.psu.ac.th
หรือสอบถามที่ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ โทร. 0 7627 6000 ต่อ 6120 Fax. 0 7627 6046
Fanpage: MSC-CoC
ค่าเทอม
32,000 บาท ต่อ เทอม
โครงสร้างหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 | 36 | หน่วยกิต | |
- วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
แผน ก แบบ ก 2 | 36 | หน่วยกิต | |
- หมวดวิชาบังคับ | 6 | หน่วยกิต | |
- หมวดวิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต | |
- วิทยานิพนธ์ | 24 | หน่วยกิต |
รายวิชา
หมวดวิชาบังคับ
969-601 |
ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์ |
3((3)-0-6) |
969-602 |
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจและวิชวลไลเซชัน |
3((3)-0-6) |
969-603 |
การจัดการโครงการดิจิทัล |
3((3)-0-6) |
หมวดวิชาเลือก 123 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูล
969-610 |
การวิเคราะห์ข้อความและการประยุกต์ (Text Analytics and Its Applications) |
3((3)-0-6) |
969-611 |
การคำนวณแบบโครงข่ายประสาท |
3((3)-0-6) |
969-612 |
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประยุกต์ |
3((3)-0-6) |
969-613 |
ระบบการจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Database Management System) |
3((3)-0-6) |
969-614 |
เทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) |
3((3)-0-6) |
969-615 |
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ (Information Technology for Business) |
3((3)-0-6) |
969-616 |
ออนโทโลยีและเว็บความหมาย |
3((3)-0-6) |
969-617 |
การคำนวณแบบคลาวด์ขั้นสูง (Advanced Cloud Computing) |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาปัญญาประดิษฐ์
969-620 |
การเรียนรู้ของเครื่อง |
3((3)-0-6) |
969-621 |
การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) |
3((3)-0-6) |
969-622 |
คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการเข้าใจภาพ |
3((3)-0-6) |
969-623 |
การเรียนรู้เชิงลึก |
3((3)-0-6) |
969-624 |
การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง |
3((3)-0-6) |
969-625 |
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
969-630 |
การบำรุงรักษาและวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Software Maintenance and Evolution) |
3((3)-0-6) |
969-631 |
การคิดทางสถาปัตยกรรม (Architectural Thinking) |
3((3)-0-6) |
969-632 |
การทวนสอบและการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation) |
3((3)-0-6) |
969-633 |
วิธีวิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Method Engineering) |
3((3)-0-6) |
969-634 |
วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ขั้นสูง (Advanced Empirical Software Engineering) |
3((3)-0-6) |
969-635 |
การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) |
3((3)-0-6) |
969-636 |
การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยรูปแบบการปฏิบัติงานและเอจายล์ |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาสื่อดิจิทัล
969-640 |
เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality Technology) |
3((3)-0-6) |
969-641 |
การออกแบบและพัฒนาสื่อเชิงโต้ตอบ (Interactive Media Design and Development) |
3((3)-0-6) |
969-642 |
เกมและการออกแบบโลกเสมือน |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาระบบคอมพิวเตอร์
969-650 |
ระบบไซเบอร์กายภาพ |
3((3)-0-6) |
969-651 |
วัตถุชาญฉลาด |
3((3)-0-6) |
969-652 |
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction) |
3((3)-0-6) |
969-653 |
การเขียนโปรแกรมอุปกรณ์เชื่อมต่อ |
3((3)-0-6) |
969-654 |
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาการสื่อสารและความมั่นคงของคอมพิวเตอร์
969-660 |
เครือข่ายแบบไร้สายและเคลื่อนที่ (Mobile and Wireless Networks) |
3((3)-0-6) |
969-661 |
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นสูง |
3((3)-0-6) |
969-662 |
ความมั่นคงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Security) |
3((3)-0-6) |
969-663 |
ระบบประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing Systems) |
3((3)-0-6) |
969-664 |
บล๊อกเชนและเศรษฐกิจโทเคน |
3((3)-0-6) |
969-665 |
การจำลองเครือข่าย |
3((3)-0-6) |
969-666 |
ชุดวิชา ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง |
6((6)-0-12) |
969-667 |
เทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูง |
3((3)-0-6) |
969-668 |
เทคโนโลยีเสริมสร้างความเป็นส่วนตัว |
3((3)-0-6) |
กลุ่มวิชาอื่น ๆ
969-670 |
หัวข้อพิเศษทางด้านการคอมพิวเตอร์ (Special Topics in Computing) |
3((3)-0-6) |
หมวดวิชาสัมมนา 2 หน่วยกิต
969-685 |
สัมมนา 1 (Seminar I) |
1(0-2-1) |
969-686 |
สัมมนา 2 (Seminar II) |
1(0-2-1) |
วิทยานิพนธ์ 66 หน่วยกิต
แผน 1 แบบวิชาการ (ก 1) |
||
969-801 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
36(0-108-0) |
แผน 1 แบบวิชาการ (ก 2) |
||
969-802 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
24(0-72-0) |
แผนการศึกษา
แผน 1 แบบวิชาการ (ก1) |
||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 |
||
969–601 |
ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์* (Research Methodology in Computing) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–801 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
12((3)-27-6) หน่วยกิต |
|
|
||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 |
||
969–685 |
สัมมนา 1* (Seminar I) |
1(0-2-1) หน่วยกิต |
969–801 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
10(0-29-1) หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 |
||
969–801 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
|
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 |
||
969–686 |
สัมมนา 2* (Seminar II) |
1(0-2-1) หน่วยกิต |
969–801 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
10(0-29-1) หน่วยกิต |
|
* ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต |
แผน 1 แบบวิชาการ (ก 2) |
||
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 |
||
969–601 |
ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์* (Research Methodology in Computing) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–602 |
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจและวิชวลไลเซชัน (Explorative Data Analysis and Visualization) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–603 |
การจัดการโครงการดิจิทัล (Digital Project Management) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–802 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
3(0-9-0) หน่วยกิต |
รวม |
12((9)-9-18) หน่วยกิต |
|
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 |
||
969–xxx |
วิชาเลือก 1 (Elective Course I) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–xxx |
วิชาเลือก 2 (Elective Course II) |
3((3)-0-6) หน่วยกิต |
969–685 |
สัมมนา 1* (Seminar I) |
1(0-2-1) หน่วยกิต |
969–802 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
3(0-9-0) หน่วยกิต |
รวม |
10((6)-11-13) หน่วยกิต |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 |
||
969–802 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
|
|
||
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 |
||
969–686 |
สัมมนา 2* (Seminar II) |
1(0-2-1) หน่วยกิต |
969–802 |
วิทยานิพนธ์ (Thesis) |
9(0-27-0) หน่วยกิต |
รวม |
10((6)-11-13) หน่วยกิต |
|
* ลงทะเบียนเรียนแบบไม่นับหน่วยกิต |
- กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile
- สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Architecture and Design)
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ (Empirical Software Engineering)
- การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
- การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance)
- วิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Engineering)
- การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองและข้อกำหนดทางซอฟต์แวร์แบบฟอร์มอล (Formal Modeling and Specification)
- การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation)
- การทดสอบจากแบบจําลอง (Model-based Testing)
Blockchain and distributed technologies.
- Blockchain and smart contract system
- NFT and Game economics
- Market dynamics in cryptocurrency with sentiment analysis
- Blockchain platforms and services with machine learning
- Blockchain transaction analysis and verification
- Blockchain privacy and security
สื่อดิจิทัล (Digital Media) เช่น
- Serious Games
- Interactive Media
- Physics-based Animation
- Human-Computer Interaction
- Mobile Application
- Architectural Visualization
- Augmented and Virtual Reality
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น
- คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision)
- การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
- การแทนความรู้ (Knowledge Representation)
- การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
- วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
- เหมืองข้อความ (Text Mining)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) เช่น
- เครือข่ายเฉพาะกิจแบบไม่มีโครงสร้าง (Mobile Ad-hoc Networks)
- เครือข่ายไร้สายเซ็นเซอร์ (Wireless Sensor Networks)
- เครือข่ายเคลื่อนที่ (Network Mobility)
- เครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ (Integration of Mobile Ad-hoc Networks and Network Mobility)
- เครือข่ายยานพาหนะ (Vehicular Networking)
- เครือข่ายเสมือน (Virtual Networks)
- เครือข่ายของทุกสิ่ง (Internet of Things)
ระบบฐานข้อมูล (Database Systems) เช่น
- การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
- คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
- ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing)
- สถาปัตยกรรมการคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Architecture)
- การจัดการการจราจรสำหรับการคำนวณแบบคลาวด์ (Traffic Management for Cloud Computing)
- ประยุกต์ใช้การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Applications)
- การคำนวณแบบคลาวด์ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Cloud Computing)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เช่น
- การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
- การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval)
- การสกัดสารสนเทศ (Information Extraction)
อาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ | |
Ph.D. (Computer Science), University of Alabama, U.S.A. วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.เกษตรศาสตร์ วศ.บ. (อุตสาหการ), ม.ธรรมศาสตร์ | |
Research Interests : Software Engineering, Empirical Software Engineering, Software Quality, Agile | |
Curriculum vitae | |
Email : aziz.n(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.วโรดม วีระพันธ์ |
|
Ph.D. in Computer Engineering (ENSEEIHT, France) ,Master II Research in Computer Engineering (ENSEEIHT, France), M. Eng. in Computer Engineering (KMITL, Bangkok) | |
Research Interests : Blockchain and smart contract, Peer-to-Peer network, Distributed system | |
Curriculum vitae | |
Email : warodom.w(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.นรเทพ รัตนวิภานนท์ | |
Ph.D. Degree University of California, Irvine , Master Degree University of California, Irvine, Bachelor Degree University of Michigan -- Ann Arbor | |
Curriculum vitae | |
Research Interests : Embedded system/IoT security, Formal Verification, Binary Analysis, Security and Privacy | |
Email : norrathep.r(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ | |
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.ธรรมศาสตร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์ | |
Research Interests : Information Extraction, Text Mining, Human Language Technology, Applied Informatics | |
Curriculum vitae | |
Email : nattapong.t(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.คมสันต์ กาญจนสิทธิ์ |
|
PhD (Electrical Engineering), Heriot-Watt University, Edinburgh, United Kingdom, M.Eng (Electrical Engineering), King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok, Thailand | |
Research Interests : Computational Electromagnetics, Microsystems and MEMS, Metamaterial and Antenna-Based Sensors, Microfabrications | |
Curriculum vitae | |
Email : komsan.k(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.วีราภรณ์ ซิดดู | |
Doctor Of Philosophy In Knowledge Management Chiang Mai University (CMU). | |
Curriculum vitae | |
Research Interests : Interdisciplinary Knowledge Management, Digital Marketing, IT Education and Learning, Process Improvement/Software Process Improvement | |
Email : veeraporn.s(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.อดิศักดิ์ อินทนา | |
Ph.D. (Computer Science), Southampton University, United Kingdom | |
Curriculum vitae | |
Research Interests : Software Engineering, Formal Methods and Engineering, Software Verification and Validation, Software Testing, CASE Tool Development, Ontology Modelling and Engineering, Semantic Web Application, Artificial Intelligence for Software Engineering | |
Email : adisak.i(at)phuket.psu.ac.th |
ผศ.ดร.กุลจรี ตันตยกุล |
|
Ph.D. in Computer Engineering, National Polytechnic Institute of Toulouse (ENSEEIHT), France,M.Eng. in Computer Engineering, National Polytechnic Institute of Toulouse (ENSEEIHT), France ,M.Eng. in Computer Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand | |
Curriculum vitae | |
Research Interests : Future Networks,Software-defined Networking,Mobility Management,Internet Protocol version 6,Internet of Things (IoTs) | |
Email : kuljaree.t(at)phuket.psu.ac.th |
Feedback Form
คำถามที่พบบ่อย (FAQ) :
Q: ขอทราบหลักสูตรคร่าว ๆ ว่าเรียนอะไรกันบ้าง
A: หลักสูตรนี้ชื่อว่า “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์” นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 36 หน่วยกิต (แผน ก2) โดยมีวิชาที่ต้องเรียนรวม 12 หน่วยกิต (4 วิชา) และต้องทำวิทยานิพนธ์อีก 24 หน่วยกิต
Q: เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันธรรมดา
A: หลักสูตรในปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป จะมีการเรียน-การสอนใน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาราชการ
Q: การสอบเข้ามีการคัดเลือกอย่างไร
A: การสอบคัดเลือกจะมีเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
Q: เป็นหลักสูตรภาษาไทย หรือหลักสูตรนานาชาติ
A: ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป จะเป็นหลักสูตรสองภาษา (ไทย/อังกฤษ) โดยภาษาที่สอนในรายวิชาจะขึ้นอยู่กับผู้เรียนในรายวิชา
Q: หลักสูตรมีทุนการศึกษาให้หรือไม่ และต้องชดใช้ทุนหรือไม่
A: ทางหลักสูตรมีทุนการศึกษาให้ โดยจะครอบคลุม ค่าลงทะเบียนเรียนตลอดระยะเวลา 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) และมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นอกจากนี้อาจจะยังได้รับทุนเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้ได้รับทุนจะไม่มีเงื่อนไขผูกมัดและชดใช้ทุนหลังจบการศึกษา
Q: ถ้าจะสมัครเรียน พร้อมสมัครทุนการศึกษาของวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง
A: ขั้นตอนแรกนักศึกษาจะต้องสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ก่อน หลังจากที่ทางวิทยาลัยฯ มีการตอบรับให้เข้าศึกษาในหลักสูตร นักศึกษาจึงจะสมัครทุนการศึกษาได้ โดยที่ทางวิทยาลัยฯ จะประกาศผลการพิจารณาทุนประมาณ 1 เดือน ก่อนเปิดภาคการศึกษา
Q: สมัครเรียนได้ที่ไหนคะ
A: สมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/admission/