กำหนดการ

รายละเอียด วันเวลา
รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ตลอดทั้งปี
สอบสัมภาษณ์ ภายใน 1 เดือนหลังจากส่งใบสมัคร
ประกาศผลการสอบสัมภาษณ์ ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการสอบสัมภาษณ์
ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาที่ 2/2565 : 20 ธันวาคม 2565 - 8 มกราคม 2566

ทุนการศึกษาปริญญาโทสำหรับนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ

 

( สำหรับนักศึกษารหัส 62 - ปัจจุบัน )

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

รหัสและชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
(ภาษาอังกฤษ): Master of Science Program in Computing (International Program)

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Computing)

 

ปรัชญา Philosophy: จัดการเรียนการสอนการผลิตงานวิจัยพื้นฐาน หรืองานวิจัยเชิงการแก้ปัญหาและการประยุกต์ใช้ รวมถึงการใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรมและสังคมเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี องค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการคอมพิวเตอร์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ Goals:

1) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถอย่างถ่องแท้ ทางด้านการคอมพิวเตอร์ เน้นเทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Science and Artificial Intelligence) วิศวกรรมซอฟต์แวร์และสื่อ (Software Engineering and Media) ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (Computer Systems and Communication) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า

2) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิทยาการใหม่ๆ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของตนและสังคม

3) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า สามารถตอบสนองนโยบายในการพัฒนาประเทศ มีคุณธรรมจริยธรรม

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ

 

ตัวอย่างอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

2) นักวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)

3) นักวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ต่าง ๆ (System, Software, and Application Designer and Developer)

4) ผู้บริหารระบบสารสนเทศในองค์กร (Information Systems Manager)

5) นักวางแผนและกำกับนโยบายระบบสารสนเทศ (Plan and Policy Officer)

6) ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและมัลติมีเดีย (Computer Graphics and Multimedia Designer)

7) นักบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Administrator)

8) นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)

9) อาจารย์ (Professor) ด้านคอมพิวเตอร์

10) วิศวกรด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งและสมองกลฝั่งตัว (Internet of Things and Embedded System Engineer)

11) วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)

Research Team

 

คุณสมบัติของผู้สมัคร

หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีในหลักสูตรที่กำหนดไว้ในข้อ 1 โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม
    ไม่ต่ำกว่า 2.75 และมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับรางวัลระดับชาติ หรือ
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีในหลักสูตรที่กำหนดไว้ในข้อ 1 โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม
    ไม่ต่ำกว่า 3.00 และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์มาแล้ว
    ไม่น้อยกว่า 2 ปี และ
  4. มีผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องการประเมินทักษะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกโดยสอบผ่านไม่เกินกว่า 2 ปี ณ วันรับสมัครเข้าศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจจะกำหนดให้ผู้สมัครเข้าเรียนต้องมีผลสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่ระบุในประกาศภายในระยะเวลา 1 ปีการศึกษานับจากเข้าเรียน
  5. หากนอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยผ่านการเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และ
    มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือมีผลงานที่ได้รับรางวัลระดับชาติ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยผ่านการเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือ
    มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือมีผลงานที่ได้รับรางวัลระดับชาติ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาการคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และ
  4.  มีผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องการประเมินทักษะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกโดยสอบผ่านไม่เกินกว่า 2 ปี ณ วันรับสมัครเข้าศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจจะกำหนดให้ผู้สมัครเข้าเรียนต้องมีผลสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่ระบุในประกาศภายในระยะเวลา 1 ปีการศึกษานับจากเข้าเรียน
  5. หากนอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556

 

  

หลักฐานประกอบการรับสมัครเฉพาะสาขา

  1. ใบสมัครเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. สำเนาใบประมวลผลการศึกษา (Transcript)
  3. สำเนาปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา
  4. หนังสือรับรองการศึกษาและคุณสมบัติประจำตัว (Recommendation) จากอาจารย์ผู้เคยสอน จำนวน 2 ท่าน
  5. สำเนาผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ สำหรับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 2
  6. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำหรับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 3
  7. คะแนนสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ TOEFL, IELTS, CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP
  8. Statement of Purpose (ภาษาไทย หรือ อังกฤษ มีความยาว 1 ถึง 2 หน้ากระดาษ A4)
 

 

การสมัคร

    1. สามารถสมัครออนไลน์ ด้วยตนเองได้ที่
http://www.grad.psu.ac.th/admission

สอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติม ผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องทุนผู้ช่วยวิจัยและอื่น ๆ ได้ที่  grad.coc@phuket.psu.ac.th 
หรือสอบถามที่ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ โทร. 0 7627 6000 ต่อ 6120 Fax. 0 7627 6046

Fanpage: MSC-CoC
โครงสร้างหลักสูตร (แผน ก1 และ ก2)

              

แผน ก แบบ ก 1   36 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2   36 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยกิต

รายวิชา
หมวดวิชาบังคับ แผน ก 2   


969-601

ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์
(Research Methodology in Computing)

3(3-0-6)

969-602

สถิติขั้นสูงสำหรับการคอมพิวเตอร์
(Advanced Statistics for Computing)

3(3-0-6)

969-603

สัมมนา*
(Seminar)

1(0-2-1)

หมายเหตุ วิชาสัมมนาไม่นับหน่วยกิต (audit)*

 

หมวดวิชาเลือก                                                                    

กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์


969-610

การทำเหมืองข้อมูล
(Data Mining)

3(3-0-6)

969-611

การประมวลภาษาธรรมชาติ
(Natural Language Processing)

3(3-0-6)

969-612

คอมพิวเตอร์วิทัศน์
(Computer Vision)

3(3-0-6)

969-613

การวิเคราะห์ข้อความและการประยุกต์               
(Text Analytics and Its Applications)

3(3-0-6)

969-614

ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence)

3(3-0-6)

969-615

เครือข่ายประสาทเทียม
(Neural Networks)

3(3-0-6)

969-616

การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประยุกต์
(Big Data Analytics and Applications)

3(3-0-6)

969-617

ระบบการจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง
(Advanced Database Management System)

3(3-0-6)

969-618

เทคโนโลยีทางการเงิน
(Financial Technology)

3(3-0-6)

969-619

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
(Information Technology for Business)

3(3-0-6)

กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และสื่อ


969-620

การบำรุงรักษาและวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์
(Software Maintenance and Evolution)

3(3-0-6)

969-621

การคิดทางสถาปัตยกรรม
(Architectural Thinking)

3(3-0-6)

969-622

การทวนสอบและการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของซอฟต์แวร์
(Software Verification and Validation)

3(3-0-6)

969-623

วิธีวิศวกรรมฟอร์มอล
(Formal Method Engineering)

3(3-0-6)

969-624

วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ขั้นสูง
(Advanced Empirical Software Engineering)

3(3-0-6)

969-625

เทคโนโลยีเว็บขั้นสูง
(Advanced Web Technologies)

3(3-0-6)

969-626

เทคโนโลยีเสมือนจริง
(Reality Technology)

3(3-0-6)

969-627

การประมวลผลภาพ
(Image Processing)

3(3-0-6)

969-628

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์
(Human-Computer Interaction)

3(3-0-6)

กลุ่มวิชาระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร


969-630

เครือข่ายแบบไร้สายและเคลื่อนที่
(Mobile and Wireless Networks)

3(3-0-6)

969-631

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
(Advanced Data Communication and Computer Networking)

3(3-0-6)

969-632

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆขั้นสูง
(Advanced Cloud Computing)

3(3-0-6)

969-633

ความมั่นคงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer Network Security)

3(3-0-6)

969-634

ระบบประมวลผลแบบกระจาย
(Distributed Computing Systems)

3(3-0-6)

กลุ่มวิชาอื่น ๆ


969-640

หัวข้อพิเศษทางด้านการคอมพิวเตอร์ 1
(Special Topics in Computing I)

3(3-0-6)

969-641

หัวข้อพิเศษทางด้านการคอมพิวเตอร์ 2
(Special Topics in Computing II)

3(3-0-6)

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เช่น
  • กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile
  • สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Architecture and Design)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ (Empirical Software Engineering)
  • การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
  • การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance)
  • วิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Engineering)
  • การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองและข้อกำหนดทางซอฟต์แวร์แบบฟอร์มอล (Formal Modeling and Specification)
  • การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation)
  • การทดสอบจากแบบจําลอง (Model-based Testing)

 

Blockchain and distributed technologies.
  • Blockchain and smart contract system
  • NFT and Game economics
  • Market dynamics in cryptocurrency with sentiment analysis
  • Blockchain platforms and services with machine learning
  • Blockchain transaction analysis and verification
  • Blockchain privacy and security

 

สื่อดิจิทัล (Digital Media) เช่น
  • Serious Games
  • Interactive Media
  • Physics-based Animation
  • Human-Computer Interaction
  • Mobile Application
  • Architectural Visualization
  • Augmented and Virtual Reality

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น
  • คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การแทนความรู้ (Knowledge Representation)
  • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
  • วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
  • เหมืองข้อความ (Text Mining)

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) เช่น
  • เครือข่ายเฉพาะกิจแบบไม่มีโครงสร้าง (Mobile Ad-hoc Networks)
  • เครือข่ายไร้สายเซ็นเซอร์ (Wireless Sensor Networks)
  • เครือข่ายเคลื่อนที่ (Network Mobility)
  • เครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ (Integration of Mobile Ad-hoc Networks and Network Mobility)
  • เครือข่ายยานพาหนะ (Vehicular Networking)
  • เครือข่ายเสมือน (Virtual Networks)
  • เครือข่ายของทุกสิ่ง (Internet of Things)

 

ระบบฐานข้อมูล (Database Systems) เช่น
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  • คลังข้อมูล (Data Warehouse)
  • ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
  • ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

 

การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing)
  • สถาปัตยกรรมการคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Architecture)
  • การจัดการการจราจรสำหรับการคำนวณแบบคลาวด์ (Traffic Management for Cloud Computing)
  • ประยุกต์ใช้การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Applications)
  • การคำนวณแบบคลาวด์ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Cloud Computing)

 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เช่น
  • การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  • การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval)
  • การสกัดสารสนเทศ (Information Extraction)

อาจารย์ที่ปรึกษา

no_image รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ หีดนาคราม
Ph.D. (Algorithms and Theory) Griffith University, Australia , B.Eng. (First Class Honours) Griffith University, Australia
Research Interests : Algorithms for Spatial Data Analysis, Cloud Type Classification, Disaster Management on Open Street Map
Curriculum vitae
Email : apichat.h(at)phuket.psu.ac.th
IMG_9475 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อซีส นันทอมรพงศ์
Ph.D. (Computer Science), University of Alabama, U.S.A. วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.เกษตรศาสตร์ วศ.บ. (อุตสาหการ), ม.ธรรมศาสตร์
Research Interests : Software Engineering, Empirical Software Engineering, Software Quality, Agile
Curriculum vitae
Email : aziz.n(at)phuket.psu.ac.th
no_image

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วโรดม วีระพันธ์

Ph.D. in Computer Engineering (ENSEEIHT, France) ,Master II Research in Computer Engineering (ENSEEIHT, France), M. Eng. in Computer Engineering (KMITL, Bangkok)
Research Interests : Blockchain and smart contract, Peer-to-Peer network, Distributed system
Curriculum vitae
Email : warodom.w(at)phuket.psu.ac.th
no_image

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสันต์ กาญจนสิทธิ์

PhD (Electrical Engineering), Heriot-Watt University, Edinburgh, United Kingdom, M.Eng (Electrical Engineering), King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok, Thailand
Research Interests : Computational Electromagnetics, Microsystems and MEMS, Metamaterial and Antenna-Based Sensors, Microfabrications
Curriculum vitae
Email : komsan.k(at)phuket.psu.ac.th
IMG_9384 ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.ธรรมศาสตร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Information Extraction, Text Mining, Human Language Technology, Applied Informatics
Curriculum vitae
Email : nattapong.t(at)phuket.psu.ac.th
no_image

ผศ.ดร.นพพณ เลิศชูวงศา

Doctorat en physique (thesis: Segmentation couleur multi caractéristiques appliquée à la stereovision), Master Degree Masters Degree in Electrical Engineering At King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok, Thailand.
Curriculum vitae
Research Interests : Color Computer Vision, Sensors, Automatic systems
Email : noppon.l(at)phuket.psu.ac.th
aj_jirawat ดร.จิรวัฒน์ แท่นทอง
ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), ม.ธรรมศาสตร์ วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Ac Hoc Networks, Cloud Computing
Curriculum vitae
Email : jirawat.t(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.วรวิกา วัฒนสุนทร
Ph.D. (Technology), University of Girona, Spain วท.ม. (การจัดการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์), ม.อัสสัมชัญ วท.บ. (จุลชีววิทยา), ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Research Interests : Serious games, Simulation, Augmented/Virtual reality, UI/UX
Curriculum vitae
Email : voravika.w(at)phuket.psu.ac.th
aj_kwan ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
Ph.D. (Natural Language Processing), Université de Besançon, France วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Natural Language Processing, Data Mining, Artificial Intelligence, Controlled Language
Curriculum vitae
Email : kanjana.l(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.ขวัญกมล ดิฐกัญจน์
Ph.D. (Computer Science), University of Liverpool, United Kingdom วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์), ม.สงขลานครินทร์
Research Interests : Data Mining, Image Mining and Image Analysis
Curriculum vitae
Email : kwankamon.d(at)phuket.psu.ac.th
no_image

ดร.กุลจรี ตันตยกุล

Ph.D. in Computer Engineering, National Polytechnic Institute of Toulouse (ENSEEIHT), France,M.Eng. in Computer Engineering, National Polytechnic Institute of Toulouse (ENSEEIHT), France ,M.Eng. in Computer Engineering, Prince of Songkla University (PSU), Thailand
Curriculum vitae
Research Interests : Future Networks,Software-defined Networking,Mobility Management,Internet Protocol version 6,Internet of Things (IoTs)
Email : kuljaree.t(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.นรเทพ รัตนวิภานนท์
Ph.D. Degree University of California, Irvine , Master Degree University of California, Irvine, Bachelor Degree University of Michigan -- Ann Arbor
Curriculum vitae
Research Interests : Embedded system/IoT security, Formal Verification, Binary Analysis, Security and Privacy
Email : norrathep.r(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.จักรพันธ์ สัวบุตร
PhD (Computer Science), RMIT University.
Curriculum vitae
Research Interests : Network Security, Malware Detection, Memory Forensics, Machine Learning, Data Leakage Detection
Email : jakapan.su(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.วีราภรณ์ ซิดดู
Doctor Of Philosophy In Knowledge Management Chiang Mai University (CMU).
Curriculum vitae
Research Interests : Interdisciplinary Knowledge Management, Digital Marketing, IT Education and Learning, Process Improvement/Software Process Improvement
Email : veeraporn.s(at)phuket.psu.ac.th
no_image ดร.อมรรัตน์ ประสิทธิ์ศุภโรจน์
Doctor of Engineering in Information Media and Environment Sciences (Cryptography), Yokohama National University, Japan
Curriculum vitae
Research Interests : Optical Character Recognition (OCR), Cryptography, High Performance Resource Management (e.g., scheduling), Indoor Positioning, Bluetooth Low Energy (BLE), Image Processing
Email : amonrat.pr(at)phuket.psu.ac.th

Feedback Form


Q: ขอทราบหลักสูตรคร่าวๆ ได้หรือป่าวคะ ว่าเรียนอะไรกันบ้าง

A: หลักสูตรนี้ชื่อว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 36 หน่วยกิต (แผน ก 2) โดยมีวิชาที่ต้องเรียนรวม 18 หน่วยกิต (6 วิชา) และทำวิทยานิพนธ์อีก 18 หน่วยกิต โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และความชำนาญ ในการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยเชิงบูรณาการ

Q: หลักสูตรนี้มีกี่สาขาคะ

A: หลักสูตรนี้ไม่มีสาขาย่อยให้เลือก แต่จะมีกลุ่มหัวข้องานวิจัยที่หลากหลาย เช่น สื่อดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล การจัดการความรู้

Q: เรียนวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันธรรมดาคะ

A: หลักสูตรในปี พ.ศ. 2558 จะมีการเรียนการสอน วันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการค่ะ

Q: การสอบเข้ามีการคัดเลือกอย่างไรคะ

A: การสอบคัดเลือกจะมีเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร

Q: เป็นหลักสูตรนานาชาติ (International Program) หรือป่าวคะ

A: ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไปจะเป็นหลักสูตรนานาชาติค่ะ ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

Q: หลักสูตรมีทุนการศึกษาให้หรือไม่ และต้องขดใช้ทุนหรือป่าวคะ

A: ทางหลักสูตรมีทุนการศึกษาให้ โดยจะครอบคลุม ค่าลงทะเบียนตลอด 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นอกจากนี้อาจจะยังได้รับทุนเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้ได้รับทุนจะไม่มีเงื่อนไขผูกมัดและชดใช้ทุนหลังจบการศึกษา

Q: คะแนนภาษาอังกฤษ (TOEFL, IELTS,CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP) มีผลต่อการคัดเลือกหรือไม่?

A: ถ้าหากมีผู้สมัครจำนวนมาก คะแนนเหล่านี้อาจจะมีผลต่อการคัดเลือกของคณะกรรมการ

Q: สมัครเรียนได้ที่ไหนคะ

A: สมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/admission/

ข่าวทุนการศึกษา