ทีมนักวิจัยของศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center: AI-TaSI) ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3,000,000 บาท จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ 2 โครงการย่อยคือ
- ระบบจำแนกข้อความทางประวัติศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์: กรณีศึกษา ดินแดนสุวรรณภูมิ
- แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเส้นทางข้ามคำบสมุทรจังหวัดระนองและชุมพร โดยนักวิจัยของศูนย์ฯ ประกอบด้วย
- ดร.กาญจนา เหล่าเส็น
- ดร.อดิศักดิ์ อินทนา
- ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ
โครงการวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการชุด “การพัฒนาแพลตฟอร์มด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์สู่จักรวาลนฤมิตร (Artificial Intelligent Platform Development for Metaverse Historical Tourism: AI-MHT)” ซึ่งได้ได้รับทุนสนับสนุนทั้งหมดจำนวน 12,000,000 บาท จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป้าหมายสำคัญสำหรับโครงการ คือ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ระบบจำลองเสมือนจริง การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ร่วมกับข้อมูลประวัติศาสตร์และอารยธรรมสุวรรณภูมิ โดยมีเป้าหมายการวิจัยและพัฒนาการวางรากฐานและการสร้างองค์ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมไทยในสมัยสุวรรณภูมิเพื่อนำไปสู่จักรวาลนฤมิตร พัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิผ่านระบบออนไลน์และอินเตอร์เน็ตในรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริงไปยังนานาชาติตลอดจนเพื่อผลักดันให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อันจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในชุมชนที่เกี่ยวข้อง โครงการชุดนี้ประกอบด้วยโครงการย่อย 6 โครงการจากความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งหมด 7 หน่วยงานดังนี้
โครงการย่อยที่ 1 “ศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน โครงการนาร่องจังหวัดระนอง ชุมพร เพื่อพัฒนาเส้นทางสายวัฒนธรรมภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ จากร่วมรากสู่ร่วมสมัย” โดย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรังสิต
โครงการย่อยที่ 2 “แพลตฟอร์มเพิ่มพูนศักยภาพนวนุรักษ์ด้วยเทคโนโลยีฐานความรู้เชิงความหมาย เพื่อสนับสนุนการศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรสุวรรณภูมิ ชุมทางการค้าทางทะเล ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ” โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
โครงการย่อยที่ 3 “แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สาหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรจังหวัดระนองและชุมพร” โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
โครงการย่อยที่ 4 “ระบบจำแนกข้อความทางประวัติศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์: กรณีศึกษาดินแดนสุวรรณภูมิ” โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
โครงการย่อยที่ 5 “เกมออนไลน์สนับสนุนการท่องเที่ยวสาหรับชุมชนประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ” โดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โครงการย่อยที่ 6 “การพัฒนานวัตกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บริเวณเส้นทางการค้าดินแดนสุวรรณภูมิ (ท่องเที่ยวเส้นทางศุทรา) ” โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน