วิศวกรรมดิจิทัล VS Robotics
“ถ้าจะสร้างหุ่นยนต์มาสักตัว เราต้องมีความรู้อะไรบ้าง?”
.
1. Math & Algorithm เพื่อคำนวณ และสั่งให้หุ่นยนตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ในชั้นปีที่ 1 และ 2 ของสาขา DE (Digital Engineering)
2. Programming เป็นการเขียนโปรแกรม เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่เราต้องการ โดยสาขา DE จะสอนน้อง ๆ ด้านการเขึยนโปรแกรม ในชั้นปีที่ 1 และ 2 ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงระดับแอดวานซ์เลย
3. Electronics วงจรพื้นฐานต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งที่นักประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้องรู้ เพราะกลไกต่าง ๆ ของหุ่นยนต์จะต้องมีวงจรไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบแน่นอน DE2 ก็จะได้เรียนเรื่องวงจรไฟฟ้าเหล่านี้
4. Sensor & IoT เมื่อน้อง ๆ เรียน DE 3 จะได้เรียนวัดค่า และการนำค่าที่วัดได้จากเซนเซอร์ต่าง ๆ มาประมวลผล และส่งคำสั่งไปควบคุมการทำงานของกลไกต่าง ๆ ทั้งที่ติดตั้งอยู่ในวงจรนั้น หรือจะส่งคำสั่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปควบคุมวงจรที่อยู่ห่างไกลออกไป ในรูปแบบของอุปกรณ์ IoT ก็ได้
5. Machine Learning เป็นส่วนที่ทำให้หุ่นยนต์เรียนรู้ได้เอง มีความฉลาดมากขึ้น ทำงานเหมือนเป็นสมองของ AI (Artificial Intelligence) DE 3 มีให้เรียนเรื่องนี้แน่นอน!!
6. Robotics & Control เมื่อน้อง ๆ อยู่ชั้นปีที่ 4 ก็จะได้นำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา มาประกอบเป็นหุ่นยนต์ อีกทั้งจะได้ออกแบบการควบคุมกลไกของหุ่นยนต์ นั่นเองงงงงงง
.
น้อง ๆ สามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.computing.psu.ac.th/…/b-eng-digital…/
————————————————
อย่าลืม! “คิดถึงคอมฯคิดถึงวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ม.อ.ภูเก็ต”
————————————————
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel : +66 (0)76 276 471 (งานประชาสัมพันธ์), +66(0)76-276117 (งานรับนักศึกษา)
Email : coc@phuket.psu.ac.th
Website : computing.psu.ac.th/th/admission/
———————————————–
#CoC #Computing #CollegeOfComputing #PSU #มอ #Phuket #Computer #TCAS #TCAS64 #Digital #Engneering #Computing #Digital #Business